30 เมษายน 2025
Home » ข่าวเด่น » สรุป พ.ร.ก.ไซเบอร์ ใหม่ คุ้มครองคนถูกหลอก แบงก์-ค่ายมือถือปรับ 5 แสน

สรุป พ.ร.ก.ไซเบอร์ ใหม่ คุ้มครองคนถูกหลอก แบงก์-ค่ายมือถือปรับ 5 แสน

SHARE THIS

มีผลแล้ว เปิดสาระสำคัญ พ.ร.ก.ไซเบอร์ ฉบับใหม่ คุ้มครองประชาชนถูกหลอก ให้ธนาคาร ค่ายมือถือ ร่วมรับผิดชอบจ่าย สูงสุด 5 แสน มีผล 13 เม.ย.68

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 โดยพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (13 เม.ย.2568) มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

ธนาคารร่วมรับผิดชอบ

หากธนาคารไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรการป้องกันที่หน่วยงานรัฐกำหนด หรือไม่ให้ความร่วมมือในการสืบสวน มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และหากละเลยคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ หรือเพิกเฉยจนเกิดความเสียหาย โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ค่ายมือถือ-แพลตฟอร์มรับผิดด้วย

หากมีพฤติกรรมเดียวกับสถาบันการ จะต้องร่วมรับผิดต่อความเสียที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ค่ายมือถือจะต้องมีมาตรการป้องกันซิมผี หรือซิมลงทะเบียนไม่ถูกต้อง ต้องให้ข้อมูลตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ เช่น หมายเลขผู้ใช้ การใช้ SMS หลอกลวง ฯลฯ หากไม่ทำตาม มีโทษเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน

 

เพิ่มอำนาจ อายัด-โอนเงินคืน

เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถสั่งให้ธนาคารหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ดำเนินการได้ทันที เช่น สั่งอายัดบัญชี ระงับซิม หยุดธุรกรรม หรือขอข้อมูลจากผู้ให้บริการ พร้อมอนุญาตให้หน่วยงานรัฐ ธนาคาร ผู้ให้บริการมือถือ และหน่วยงานกำกับดูแล แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น เลขบัญชี เบอร์โทรศัพท์ รายการโอนเงิน พฤติกรรมผิดปกติ ฯลฯ เพื่อป้องกันและหยุดยั้งอาชญากรรม

 

คืนเงินให้ผู้เสียหายได้เร็วขึ้น

กรณีประชาชนถูกหลอกให้โอนเงินจากมิจฉาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนพิเศษ, ธนาคาร ฯลฯ ต้องร่วมมือกันส่งรายงานข้อมูลให้ ปปง. ตรวจสอบ เมื่อ ปปง. มีการตรวจสอบพบว่า เงินในบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินในบัญชีที่เกี่ยวข้องไว้ก่อน และถ้าตรวจสอบพบว่า เงินนั้นเป็นของผู้เสียหายจริง เจ้าหน้ามีอำนาจสั่งคืนเงินให้ผู้เสียหายได้ โดยไม่ต้องรอขึ้นศาล

 

ต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ห้ามนำไปใช้หลอกลวง ห้ามนำข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรประชาชน บัญชีธนาคาร เบอร์โทรศัพท์ ไปใช้กระทำความผิด ผู้เปิดบัญชีหรือขายบัญชีให้ผู้อื่นใช้ (บัญชีม้า) มีความผิด แม้อ้างว่า “ไม่รู้” โดยโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ตั้ง “ศูนย์ต่อต้าน”อาชญากรรมไซเบอร์”  

หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสอบสวนคดีพิเศษ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปปง. ก.ล.ต. กสทช. ฯลฯ

 

 

#อาชญากรรมไซเบอร์ #พรกไซเบอร์ #ราชกิจจานุเบกษา #ข่าวจริง #thefacts #facts #fact